ที่ยกย่องพ่อแม่ว่าเป็นพรหมของลูก หรือเป็นพรหมในบ้านนั้น เพราะเหตุว่าท่านทั้งสองทรงธรรมของพรหมเป็นอุปนิสัย เป็นหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิต จึงมีจิตใจเสมือนพรหม เรียกคุณธรรมนี้ว่า "พรหมวิหาร ๔ " ได้แก่
1. เมตตาพรหมวิหาร พ่อแม่มีความเป็นมิตรไมตรีกับลูกทุกคนเสมอเท่าเทียมกัน ปรารถนาให้ลูกได้รับความสุข พยายามสรรหาสิ่งบำรุงเลี้ยงลูกทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้ลูกมีความสุขตามควรแก่วัย เช่น หาอาหารที่อร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อที่ลูกจะได้มีร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ ลูกอยากจะรับประทานอะไรท่านก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อตอนลูกยังเล็ก ๆ ท่านเคยเลี้ยงดูลูกอย่างไร แม้ลูกโตจนรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว ก็ยังปฏิบัติต่อลูกเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ท่านรู้ใจลูกชอบอะไร ก็จะพยายามทำสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อความสุขกายและใจของลูก พ่อแม่ทำได้เสมอ ท่านมีความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลลูกโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีความเมตตาอย่างบริสุทธิ์ต่อลูกเสมอ ลูกมีความสุขท่านก็พลอยสุขด้วย แต่ท่านจะมีความสุขมากในยามชรา ถ้าลูกของท่านมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลท่านบ้าง ไม่ปล่อยให้ท่านรอหรือหวนหา ลูกก็ไม่เคยมาให้พ่อแม่เห็นหน้า อ้างว่าไม่มีเวลา ทำแต่งานจนลืมผู้มีพระคุณ ปล่อยให้ท่านเป็นโรคเหงาเศร้าซึมเพราะคิดถึงลูก
ถ้าเป็นเช่นนั้นไม่ดีแน่
2. กรุณาพรหมวิหาร เมื่อยามลูกเจ็บป่วยพ่อแม่ช่วยดูแลรักษา ปรารถนาให้ลูกหายเจ็บป่วยเร็ว ๆ คอยเฝ้าป้อนข้าวป้อนน้ำ หายูกยามาบำบัด หรือถ้าป่วยไข้หนักต้องรักษาเป็นพิเศษ ท่านก็พาไปหาหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ถึงแม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายไม่เสียดาย พ่อแม่เสียสละเพื่อลูกได้เสมอ ขอเพียงให้ลูกพ้นจากความเจ็บปวดทรมานกายและใจ ลูกเจ็บป่วยท่านก็พลอยทุกข์ไปด้วย พ่อแม่มีความสงสารลูกเมื่อลูกประสบกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถคลี่คลายได้ด้วยตนเอง ท่านก็จะพยายามคิดหาหนทางที่จะช่วยแก้ไขให้ ไม่ปล่อยให้ลูกต้องจมอยู่กับปัญหาตามลำพัง ถึงแม้ว่าปัญหาบางอย่าง อาจจะต้องใช้ทรัพย์เป็นจำนวนมากจึงจะแก้ไขได้ ท่านก็พยายามที่จะช่วย บางครั้งยอมขายสมบัติหรือเป็นหนี้เขาก็มี.....นี่แหละคือความเป็นพรหมของพ่อแม่ จะมีแต่ความรักและสงสารลูกไม่เสื่อมคลาย
3. มุทิตาพรหมวิหาร หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข.......พ่อแม่มีคุณธรรมในข้อนี้ก็คือ เมื่อลูกได้ดีมีความสุข ประสบความสำเร็จในการเล่าเรียน มีการงานทำ มีตำแหน่งหน้าที่ดี มีเกียรติในสังคม มีความเจริญก้าวหน้า หรือมีคู่ครองที่ดีและเหมาะสม พ่อแม่ก็พลอยมีความยินดีและมีความสุขใจกับลูกด้วย เมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัวเป็นฝั่งฝาที่มีความสุข ท่านทั้งสองก็พลอยยินดีกับลูก
4. อุเบกขาพรหมวิหาร หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง เมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมแล้ว ไม่เอนเอียงด้วยราคะหรือด้วยโทสะ พิจารณาเห็นกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่ได้กระทำไปแล้ว ย่อมมีผลเป็นทุกข์ มีวิบากเป็นอกุศลหรือมีผลเป็นสุข มีวิบากเป็นกุศล พ่อแม่มีคุณธรรมข้อสุดท้ายก็คือ "อุเบกขาพรหมวิหาร" เมื่อลูกเติบโตและมีการงานทำ มีครอบครัวเป็นที่มั่นคงแล้ว ท่านทั้งสองก็วางใจเป็นกลาง เมื่อลูกมีปัญหาก็จะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในเรื่องของกรรม ว่าสัตว์ทั้งหลาย มีวิถีชีวิตดำเนินไปตามกรรมของตนที่ได้กระทำ เขาต้องรับผิดชอบในกรรมที่ได้กระทำไว้ พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตครอบครัวของลูก แต่ก็ใช่ว่าท่านจะเมินเฉยต่อลูก ไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งสิ้น นั่นก็ไม่ถูกต้อง พ่อแม่เป็นห่วงลูกรักลูกเสมอ แม้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ท่านก็เฝ้าดูแลอยู่ห่าง ๆ โดยวางใจเป็นกลาง
พ่อแม่เป็นบุคคลผู้ดำรงอยู่ในพรหมวิหารธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม หรือเครื่องอยู่อย่างพรหม พ่อแม่จึงช่วยเหลือลูก ๆ ด้วยเมตตากรุณา ท่านมีมุทิตาและพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในเรื่องของกรรม ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตน ดังนั้น ท่านจึงวางใจเป็นกลางหรือเรียกอีกอย่างว่า "รักษาธรรมไว้ด้วยอุเบกขา" พรหมวิหาร ๔ จึงเป็นธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหม หรือเป็นธรรมเครื่องอยู่ของผู้มีคุณอันเหลือล้น ซึ่งหมายถึง "พ่อแม่" นั่นเอง
พ่อแม่เป็นผู้มีอุปการะคุณอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า "มารดาบิดาเป็นพรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยของบุตร บุญคุณของท่าน บุตรไม่อาจทำตอบแทนให้สิ้นสุดด้วยอุปการะอันเป็นโลกิยะ แม้บุตรตั้งใจว่า เราจักตอบแทนบุญคุณบิดามารดา แล้ววางมารดาไว้บนงอยบ่าเบื้องขวา วางบิดาไว้บนจะงอยบ่าเบื้องซ้าย ประคับประคองในอวัยวะทั้งปวง ทำการบำรุงท่านผู้ดำรงอยู่บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ด้วยภารกิจมีการอบกลิ่นเป็นต้นน บิดามารดานั่งถ่ายปัสสาวะและอุจจาระบนจะงอยบ่าของลูก บุตรนั้นแม้จะทำอยู่อย่างนั้นตลอด ๑๐๐ ปี ก็ไม่อาจทำตอบแทนแก่ท่านได้เลย แม้ว่าบุตรจะสถาปนาบิดาาไว้ในดำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ และสถาปนามารดาไว้ในดำแหน่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เมื่อทำได้อย่างนั้น บุตรก็ไม่อาจทำตอบแทนแก่ท่านได้เหมือนกัน ส่วนบุตรคนใดตั้งบิดามารดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทาน ดำรงตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา ยังบิดามารดาผู้ทุศีลให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในสิลสัมปทา ยังบิดามารดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในจาคสัมปทา ยังบิดามารดาผู้มีปัญญาน้อยให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในปัญญาสัมปทา บุตรนั้นจึงจะชื่อว่า สามารถทำตอบแทนบุญคุณของท่านได้".
เพราะฉะนั้น ทุกคนมีพ่อแม่และบางท่านก็อาจจะกำลังเป็นพ่อแม่ บางท่านก็อาจจะเป็นพ่อแม่อยู่ หรือ เมื่อได้ทราบถึงพระคุณของพ่อแม่แล้วว่า มีมากมายมหาศาล ซึ่งลูกไม่สามารถที่ลูกจะตอบแทนได้หมดด้วยการบำรุงเลี้ยงดูอย่างเดียว ต้องบำรุงด้วยธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แนะนำให้พ่อแม่รักษาศีล ๕ หรือ ๘ ศึกษาพระธรรม ด้วยการฟังธรรมและมีการสนทนาธรรม ตามกาล อบรมเจริญความสงบของจิตและเจริญปัญญาในขั้นสูงขึ้นตามลำดับ ท่านผู้ใดบำรุงพ่อแม่ทั้งกายและใจได้ดังนี้ ถือว่าเป็นการกระทำตอบแทนบุญคุณอย่างยิ่ง และท่านผู้นั้นก็จะเป็นผู้ที่มีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตด้วย เพราะเหตุว่าเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ.
.................................................
1. เมตตาพรหมวิหาร พ่อแม่มีความเป็นมิตรไมตรีกับลูกทุกคนเสมอเท่าเทียมกัน ปรารถนาให้ลูกได้รับความสุข พยายามสรรหาสิ่งบำรุงเลี้ยงลูกทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้ลูกมีความสุขตามควรแก่วัย เช่น หาอาหารที่อร่อยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อที่ลูกจะได้มีร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ ลูกอยากจะรับประทานอะไรท่านก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อตอนลูกยังเล็ก ๆ ท่านเคยเลี้ยงดูลูกอย่างไร แม้ลูกโตจนรับผิดชอบตัวเองได้แล้ว ก็ยังปฏิบัติต่อลูกเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ท่านรู้ใจลูกชอบอะไร ก็จะพยายามทำสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อความสุขกายและใจของลูก พ่อแม่ทำได้เสมอ ท่านมีความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลลูกโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีความเมตตาอย่างบริสุทธิ์ต่อลูกเสมอ ลูกมีความสุขท่านก็พลอยสุขด้วย แต่ท่านจะมีความสุขมากในยามชรา ถ้าลูกของท่านมีความเมตตาเอื้อเฟื้อเกื้อกูลท่านบ้าง ไม่ปล่อยให้ท่านรอหรือหวนหา ลูกก็ไม่เคยมาให้พ่อแม่เห็นหน้า อ้างว่าไม่มีเวลา ทำแต่งานจนลืมผู้มีพระคุณ ปล่อยให้ท่านเป็นโรคเหงาเศร้าซึมเพราะคิดถึงลูก
ถ้าเป็นเช่นนั้นไม่ดีแน่
2. กรุณาพรหมวิหาร เมื่อยามลูกเจ็บป่วยพ่อแม่ช่วยดูแลรักษา ปรารถนาให้ลูกหายเจ็บป่วยเร็ว ๆ คอยเฝ้าป้อนข้าวป้อนน้ำ หายูกยามาบำบัด หรือถ้าป่วยไข้หนักต้องรักษาเป็นพิเศษ ท่านก็พาไปหาหมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ถึงแม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายไม่เสียดาย พ่อแม่เสียสละเพื่อลูกได้เสมอ ขอเพียงให้ลูกพ้นจากความเจ็บปวดทรมานกายและใจ ลูกเจ็บป่วยท่านก็พลอยทุกข์ไปด้วย พ่อแม่มีความสงสารลูกเมื่อลูกประสบกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถคลี่คลายได้ด้วยตนเอง ท่านก็จะพยายามคิดหาหนทางที่จะช่วยแก้ไขให้ ไม่ปล่อยให้ลูกต้องจมอยู่กับปัญหาตามลำพัง ถึงแม้ว่าปัญหาบางอย่าง อาจจะต้องใช้ทรัพย์เป็นจำนวนมากจึงจะแก้ไขได้ ท่านก็พยายามที่จะช่วย บางครั้งยอมขายสมบัติหรือเป็นหนี้เขาก็มี.....นี่แหละคือความเป็นพรหมของพ่อแม่ จะมีแต่ความรักและสงสารลูกไม่เสื่อมคลาย
3. มุทิตาพรหมวิหาร หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข.......พ่อแม่มีคุณธรรมในข้อนี้ก็คือ เมื่อลูกได้ดีมีความสุข ประสบความสำเร็จในการเล่าเรียน มีการงานทำ มีตำแหน่งหน้าที่ดี มีเกียรติในสังคม มีความเจริญก้าวหน้า หรือมีคู่ครองที่ดีและเหมาะสม พ่อแม่ก็พลอยมีความยินดีและมีความสุขใจกับลูกด้วย เมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัวเป็นฝั่งฝาที่มีความสุข ท่านทั้งสองก็พลอยยินดีกับลูก
4. อุเบกขาพรหมวิหาร หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง เมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมแล้ว ไม่เอนเอียงด้วยราคะหรือด้วยโทสะ พิจารณาเห็นกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่ได้กระทำไปแล้ว ย่อมมีผลเป็นทุกข์ มีวิบากเป็นอกุศลหรือมีผลเป็นสุข มีวิบากเป็นกุศล พ่อแม่มีคุณธรรมข้อสุดท้ายก็คือ "อุเบกขาพรหมวิหาร" เมื่อลูกเติบโตและมีการงานทำ มีครอบครัวเป็นที่มั่นคงแล้ว ท่านทั้งสองก็วางใจเป็นกลาง เมื่อลูกมีปัญหาก็จะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในเรื่องของกรรม ว่าสัตว์ทั้งหลาย มีวิถีชีวิตดำเนินไปตามกรรมของตนที่ได้กระทำ เขาต้องรับผิดชอบในกรรมที่ได้กระทำไว้ พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปวุ่นวายกับชีวิตครอบครัวของลูก แต่ก็ใช่ว่าท่านจะเมินเฉยต่อลูก ไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งสิ้น นั่นก็ไม่ถูกต้อง พ่อแม่เป็นห่วงลูกรักลูกเสมอ แม้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ท่านก็เฝ้าดูแลอยู่ห่าง ๆ โดยวางใจเป็นกลาง
พ่อแม่เป็นบุคคลผู้ดำรงอยู่ในพรหมวิหารธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ของพรหม หรือเครื่องอยู่อย่างพรหม พ่อแม่จึงช่วยเหลือลูก ๆ ด้วยเมตตากรุณา ท่านมีมุทิตาและพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในเรื่องของกรรม ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตน ดังนั้น ท่านจึงวางใจเป็นกลางหรือเรียกอีกอย่างว่า "รักษาธรรมไว้ด้วยอุเบกขา" พรหมวิหาร ๔ จึงเป็นธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหม หรือเป็นธรรมเครื่องอยู่ของผู้มีคุณอันเหลือล้น ซึ่งหมายถึง "พ่อแม่" นั่นเอง
พ่อแม่เป็นผู้มีอุปการะคุณอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า "มารดาบิดาเป็นพรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยของบุตร บุญคุณของท่าน บุตรไม่อาจทำตอบแทนให้สิ้นสุดด้วยอุปการะอันเป็นโลกิยะ แม้บุตรตั้งใจว่า เราจักตอบแทนบุญคุณบิดามารดา แล้ววางมารดาไว้บนงอยบ่าเบื้องขวา วางบิดาไว้บนจะงอยบ่าเบื้องซ้าย ประคับประคองในอวัยวะทั้งปวง ทำการบำรุงท่านผู้ดำรงอยู่บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ด้วยภารกิจมีการอบกลิ่นเป็นต้นน บิดามารดานั่งถ่ายปัสสาวะและอุจจาระบนจะงอยบ่าของลูก บุตรนั้นแม้จะทำอยู่อย่างนั้นตลอด ๑๐๐ ปี ก็ไม่อาจทำตอบแทนแก่ท่านได้เลย แม้ว่าบุตรจะสถาปนาบิดาาไว้ในดำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ และสถาปนามารดาไว้ในดำแหน่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เมื่อทำได้อย่างนั้น บุตรก็ไม่อาจทำตอบแทนแก่ท่านได้เหมือนกัน ส่วนบุตรคนใดตั้งบิดามารดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทาน ดำรงตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา ยังบิดามารดาผู้ทุศีลให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในสิลสัมปทา ยังบิดามารดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในจาคสัมปทา ยังบิดามารดาผู้มีปัญญาน้อยให้สมาทานดำรงตั้งอยู่ในปัญญาสัมปทา บุตรนั้นจึงจะชื่อว่า สามารถทำตอบแทนบุญคุณของท่านได้".
เพราะฉะนั้น ทุกคนมีพ่อแม่และบางท่านก็อาจจะกำลังเป็นพ่อแม่ บางท่านก็อาจจะเป็นพ่อแม่อยู่ หรือ เมื่อได้ทราบถึงพระคุณของพ่อแม่แล้วว่า มีมากมายมหาศาล ซึ่งลูกไม่สามารถที่ลูกจะตอบแทนได้หมดด้วยการบำรุงเลี้ยงดูอย่างเดียว ต้องบำรุงด้วยธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แนะนำให้พ่อแม่รักษาศีล ๕ หรือ ๘ ศึกษาพระธรรม ด้วยการฟังธรรมและมีการสนทนาธรรม ตามกาล อบรมเจริญความสงบของจิตและเจริญปัญญาในขั้นสูงขึ้นตามลำดับ ท่านผู้ใดบำรุงพ่อแม่ทั้งกายและใจได้ดังนี้ ถือว่าเป็นการกระทำตอบแทนบุญคุณอย่างยิ่ง และท่านผู้นั้นก็จะเป็นผู้ที่มีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตด้วย เพราะเหตุว่าเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ.
.................................................
No comments:
Post a Comment
Note: only a member of this blog may post a comment.